ศ.นพ.ธีรวัฒน์
เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์ความร่วมมือองค์การอนามัยโลกฯ
ด้านไวรัสสัตว์สู่คน คณะแพทยศาสตร์
จุฬาฯ ให้ความรู้เกี่ยวกับไวรัสเมอร์สว่า
เป็นไวรัสที่อยู่ในตระกูลเดียวกับไวรัสโคโลนาซึ่งทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรงหรือไวรัสซาร์สที่เคยแพร่ระบาดเมื่อปี๒๐๐๓
ไวรัสซาร์สกับไวรัสเมอร์สมีรหัสการเรียงตัวของพันธุกรรมที่ใกล้กันมากและมีต้นกำเนิดมาจาก“ค้าวคาว” ซึ่งเป็นสัตว์ที่เป็นตัวเพาะเชื้อเช่นเดียวกัน
สำหรับไวรัสเมอร์สอยู่ในกลุ่มเบต้าโคโลนาไวรัส ซึ่งรู้จักมาตั้งแต่ปี ๒๐๑๒ ผู้ที่เสียชีวิตคนแรกจากโรคนี้เป็นชาวตะวันออกกลาง
เมื่อตรวจพบว่าเป็นไวรัสชนิดใหม่
จึงได้ตั้งชื่อว่า (Mers)
middle East Resptratory เนื่องจากถูกค้นพบที่ตะวันออกกลาง
ไวรัสนี้สามารถถ่ายทอดจากคนสู่คน
ดังจะเห็นจะได้การแพร่ระบาดครั้งใหญ่และรุนแรงของโรคนี้ที่ประเทศเกาหลี
เพราะเชื้อสามารถอยู่ในสิ่งแวดล้อมและติดต่อกันได้
ถ้าอยู่ในอากาศที่เย็น
ประมาณ
๒๐
องศา
และความชื้นไม่มากนัก
เชื้อจะสามารถอยู่ได้นาน
๔๘
ชั่วโมง
ในขณะที่
อุณหภมิ
๓๐
องศา
และมีความชื้นมากขึ้นก็จะอยู่ได้นานถึง
๘
ชั่วโมง
การแพร่กระจายของไวรัสเกิดจากการไอ
จามของผู้ที่ติดเชื้อ
รวมถึงการสัมผัสกับคนไข้
หรือข้าวของเครื่องใช้โดยตรง
นอกจากสารคัดหลั่งจากร่างกายแล้วไวรัสเมอร์สยังสามารถตรวจพบได้จากเซลที่ผนังจมูกและโพรงจมูกด้านหลัง
การได้ตัวอย่างจากลำคอด้านหลัง
โดยเฉพาะเสมหะที่อยู่ในหลอดลมหรือทางเดินหายใจส่วนลึกลงไปก็จะทำให้ได้ผลแม่นยำมากขึ้น
นอกจากนี้เลือด
และอุจจาระ
ก็ยังเป็นตัวอย่างที่เราสามารถนำมาใช้ในการตรวจได้อีกด้วย
ศ.นพ.ธีรวัฒน์ กล่าวถึงผู้ป่วยจากไวรัสเมอร์สรายเดียวที่พบในประเทศไทยว่า
ทางสำนักระบาดวิทยา
กระทรวงสาธารณสุข
และกรมควบคุมโรคติดต่อ
ได้ติดต่อมาที่ศูนย์ความร่วมมือองค์การอนามัยโลกฯ
ด้านไวรัสสัตว์สู่คน
คณะแพทยศาสตร์
จุฬาฯ
เนื่องจากผู้ป่วยรายนี้มีอาการอยู่ในข่ายที่น่าสงสัยถึงแม้จะได้ผลตรวจเป็นลบถึงสองครั้ง
ซึ่งตัวอย่างที่ส่งมาตรวจนั้นเป็นตัวอย่างที่ค่อนข้างสมบูรณ์คือเสมหะ
ทางศูนย์ฯได้ทำการตรวจทั้งหมด
๓
ยีน
และสามารถตรวจพบว่าผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ภายในเวลา
๖
– ๗
ชั่วโมง
“อาการของผู้ที่ได้รับเชื้อไวรัสเมอร์สจะแสดงอาการในวันที่
๒
– ๑๔
ซึ่งสามารถแพร่เชื้อไปยังผู้อื่นได้
อาการนั้นจะมีความรุนแรงมากน้อยแตกต่างกัน
ตั้งแต่ครั่นเนื้อครั่นตัว
มีอาการไอ
จามเล็กน้อย
เหมือนเป็นไข้หวัดธรรมดา
หากมีอาการมากก็จะปวดกล้ามเนื้อ
ปวดหัว
เป็นไข้
ท้องเสีย
จนกระทั่งปอดบวม
วิธีการป้องกันที่ดีที่สุดคือ
หากสงสัยว่ามีอาการคล้ายโรคติดเชื้อ
เราต้องทำตัวเองให้แข็งแรงที่สุด
ต้องรู้ว่าตนเองมีโรคประจำตัวอะไร
และต้องรีบรักษาให้กลับคืนสู่สภาพปกติให้มากที่สุด
ซึ่งจะทำให้ลูกโซ่ของการแพร่ระบาดเชื้อโรคขาดตอน
ไม่มีการแพร่เชื้อไปยังผู้อื่นที่ใกล้ชิด
นอกจากนี้หลักการสำคัญที่ต้องคำนึงถึงเสมอคือ
“กินร้อน
ช้อนกลาง ล้างมือ
ปิดปากเวลาไอ จาม
ไม่ใช้ภาชนะร่วมกัน”
สำหรับมาตรการการป้องกันโรคในประเทศไทยนั้นไม่น่าเป็นห่วงมากนัก
เนื่องจากประเทศไทยมีการพัฒนาการตรวจวินิจฉัยโรคและมีมาตรการที่ค่อนข้างรัดกุมไปมากแล้ว
จากประสบการณ์ที่ผ่านมาที่เคยเผชิญกับการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัด
๒๐๐๙
อย่างไรก็ตามจะต้องเพิ่มความเข้มงวดให้มากขึ้นอีกในระยะนี้
และต้องพัฒนาให้ดียิ่งๆขึ้นไป
เพื่อที่จะรองรับกับโรคที่อาจจะอุบัติใหม่ขึ้นมาอีกในอนาคต”
ศ.นพ.ธีรวัฒน์ กล่าวในที่สุด
รู้ทันไวรัสเมอร์ส โรคทางเดินหายใจ
โรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง หรือโรคเมอร์ส (Middle East Respiratory Syndrome – MERS) นับว่าเป็นเชื้อไวรัสชนิดใหม่ที่กำลังระบาดเข้ามาในหลายๆประเทศ เชื้อไวรัสเมอร์สนี้เป็นเชื้อที่ค่อนข้างรุนแรงหากไม่ได้รับการรักษาและป้องกันโดยแพทย์อย่างใกล้ชิดก็สามารถถึงแก่ชีวิตได้ วันนี้ fat108 ดอทคอมจึงหาข้อมูลเกี่ยวกับโรคเมอร์สมาเพื่อให้เราสามารถป้องกันจากเชื้อไวรัสตัวร้ายนี้ได้
อาการกลุ่มเสี่ยงที่คาดว่าจะเป็นโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง หรือโรคเมอร์ส (Middle East Respiratory Syndrome – MERS)
1. มีอาการไข้
2. ไอ
3. หอบ
4. เหนื่อย
5. บางรายมีอาการในระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องเสีย อาเจียน ในรายที่มีอาการรุนแรงมักมีอาการแสดงของโรคปอดอักเสบ ระบบทางเดินหายใจล้มเหลว อวัยวะล้มเหลว โดยเฉพาะไตวาย จนถึงขั้นเสียชีวิต
2. ไอ
3. หอบ
4. เหนื่อย
5. บางรายมีอาการในระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องเสีย อาเจียน ในรายที่มีอาการรุนแรงมักมีอาการแสดงของโรคปอดอักเสบ ระบบทางเดินหายใจล้มเหลว อวัยวะล้มเหลว โดยเฉพาะไตวาย จนถึงขั้นเสียชีวิต
เนื่องด้วยศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคของยุโรป (ECDC: European Centre for Disease Prevention and Control) รายงานพบผู้ป่วยยืนยันโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง หรือโรคเมอร์ส ณ วันที่ 12 มิถุนายน 2558 รวมแล้ว ผู้ป่วย 1,307 ราย เสียชีวิต 500 ราย โดยพบรายงานผู้ป่วยทั้งหมด จาก 25 ประเทศ ดังนี้ ซาอุดิอาระเบีย , สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ , กาตาร์ , จอร์แดน , โอมาน , คูเวต , อียิปต์ , เยเมน , เลบานอน , อิหร่าน , ตุรกี , อังกฤษ , เยอรมนี , ฝรั่งเศส , อิตาลี , กรีซ , เนเธอร์แลนด์ , ออสเตเรีย , ตูนีเซีย , แอลจีเรีย , มาเลเซีย , ฟิลิปปินส์ , สหรัฐอเมริกา , เกาหลีใต้ และจีน ล่าสุด วันที่ 18 มิถุนายน 2558 กระทรวงสาธารณสุขประเทศไทย ได้รายงานว่า พบผู้ป่วยติดเชื้อโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง หรือ โรคเมอร์ส จำนวน 1 ราย ซึ่งเป็นชายชาวตะวันออกกลาง เดินทางมาจากประเทศที่มีการระบาดของโรคเมอร์ส ขณะนี้ผู้ป่วยอาการทรงตัว และรับการรักษาอยู่ห้องแยกโรค ทั้งนี้มีการติดตามผู้สัมผัสใกล้ชิด และมีการใช้มาตรการในการป้องกันการแพร่กระจายโรคอย่างสูงสุด ประเทศไทยได้มีระบบเฝ้าระวัง ตรวจจับโรคดังกล่าวอย่างเข้มข้น และต่อเนื่อง
มาตรการในการป้องกัน โรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง หรือ โรคเมอร์ส
1. เมื่อพบกลุ่มเสี่ยง หรือผู้ป่วย ให้แยกผู้ป่วยและญาติไปห้องแยกโรค ไม่ให้ปะปนกับผู้ป่วยรายอื่น
2. ถ้าคิดว่าตัวเองอาจอยู่ในกลุ่มเสี่ยงผู้ติดเชื้อไวรัสโรคเมอร์ส มีอาการไข้ ไอ จาม มากผิดปกติ ให้รีบไปพบแพทย์ทันที
3. หากเราต้องเดินทางไปในพื้นที่ ที่มีกลุ่มเสี่ยงโรคเมอร์ส ให้เราป้องกันตัวเองด้วยวิธีการ ใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือให้สะอาดอยู่ตลอดเวลา เพื่อป้องกันโรค
2. ถ้าคิดว่าตัวเองอาจอยู่ในกลุ่มเสี่ยงผู้ติดเชื้อไวรัสโรคเมอร์ส มีอาการไข้ ไอ จาม มากผิดปกติ ให้รีบไปพบแพทย์ทันที
3. หากเราต้องเดินทางไปในพื้นที่ ที่มีกลุ่มเสี่ยงโรคเมอร์ส ให้เราป้องกันตัวเองด้วยวิธีการ ใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือให้สะอาดอยู่ตลอดเวลา เพื่อป้องกันโรค
กลุ่มเสี่ยงที่อาจจะได้รับเชื้อไวรัสโรคเมอร์ส ได้ง่าย
1. ผู้ที่มีประวัติความดันโลหิตสูง
2. ผู้ที่มีประวัติเบาหวาน
3. ผู้ที่มีประวัติมะเร็ง
4. ผู้ที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับตับ
5. ผู้ที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับหัวใจ จากข้อมูลในกลุ่มผู้เสียชีวิตจากโรคเมอร์ส พบว่าส่วนใหญ่มีโรคประจำตัว เช่น หอบหืด ความดันโลหิตสูง ภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ มะเร็งตับ มะเร็งไต เป็นต้น
2. ผู้ที่มีประวัติเบาหวาน
3. ผู้ที่มีประวัติมะเร็ง
4. ผู้ที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับตับ
5. ผู้ที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับหัวใจ จากข้อมูลในกลุ่มผู้เสียชีวิตจากโรคเมอร์ส พบว่าส่วนใหญ่มีโรคประจำตัว เช่น หอบหืด ความดันโลหิตสูง ภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ มะเร็งตับ มะเร็งไต เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น